สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 พฤศจิกายน 2564

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,586 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,658 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,667 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,651 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,670 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,890 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 669 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,125 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 702 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,145 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,020 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,287 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 190 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,287 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 190 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0720 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 เดือนครึ่ง (นับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2564) เนื่องจากค่าเงินรูปีเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในรอบกว่า 3 สัปดาห์ ประกอบกับอุปทานข้าวในประเทศ
มีปริมาณลดลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งอุปทานข้าวมักจะมีปริมาณจํากัด ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศยังคงมีอยู่ ทำให้ข้าวนึ่ง 5% ราคาปรับสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 363-367 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากระดับ 362-365 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่วงการค้ารายงานว่า อุปทานข้าวฤดูใหม่เพิ่งจะทยอยออกสู่ตลาด
ทำให้อุปทานข้าวในตลาดมีจํากัด โดยคาดว่าอุปทานข้าวฤดูใหม่จะออกสู่ตลาดสูงที่สุดในช่วงเดือนหน้า ซึ่งน่าจะช่วยให้ราคาข้าวอ่อนตัวลงได้บ้าง
กรมการอาหารและการกระจายสินค้าสาธารณะ สังกัดกระทรวงกิจการผู้บริโภคอาหารและการกระจายสินค้าสาธารณะ (The Department of Food and Public Distribution under the Ministry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution) แถลงว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2564/65 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2564 สามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 5,662,885 ตัน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้แล้ว ประมาณ 371,919 ราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,473.154 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นราคาเฉลี่ยของข้าวที่รัฐบาลรับซื้อ ประมาณ 260 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน)
โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64
(1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) ที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 89.24 ล้านตันข้าวเปลือก ประกอบด้วยข้าวจากฤดูการผลิต Kharif crop ประมาณ 71.81 ล้านตัน และจากฤดูการผลิต Rabi crop ประมาณ 17.615 ล้านตัน
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ส่วนปี 2564/65 (ตุลาคม 2564-กันยายน 2565) รัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2564/65 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,293 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 177 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกําไรประมาณร้อยละ 50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึงกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,940 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 266 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.85 จาก 1,868 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 256 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ในปี 2563/64 ขณะที่ข้าวคุณภาพดี (Grade ‘A’ paddy) กำหนดราคาไว้ที่ 1,960 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 269 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.8
จาก 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 258 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ในปี 2563/64
ที่มา Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวส่งออกปรับลดลงท่ามกลางการแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่เป็นไปอย่าง รุนแรง เนื่องจากราคาข้าวของประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย และไทย อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเวียดนามพอสมควร โดยราคา ข้าวขาว 5% อยู่ที่ 425-430 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 430-435 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวของเวียดนามยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่งพอสมควร แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงแล้ว
ขณะที่วงการค้ารายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2564 ข้อมูลเบื้องต้น เวียดนามมีการขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือที่ท่าเรือ
Ho Chi Minh City (HCMC) Port ประมาณ 321,555 ตัน ส่วนใหญ่มีปลายทางไปยัง ฟิลิปปินส์ แอฟริกา และคิวบา โดยวงการค้าคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี 2564 จะมีการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากยังคงมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 14 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 263,722 ตัน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 530,000 ตัน เพิ่มขึ้น 46.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนของปีนี้ (มกราคม-ตุลาคม 2564) เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.1 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย รายงานว่าผู้เชี่ยวชาญในวงการข้าวระบุว่า การผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ได้เปิดโอกาสอย่างมากต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนาม
ข้อมูลสถิติจากกรมศุลกากรเวียดนามระบุว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน ในเดือนกันยายน 2564 การส่งออกข้าวมีปริมาณ 593,624 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 คิดเป็นมูลค่า 293.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 เวียดนามส่งออกข้าวไปต่างประเทศปริมาณ 4.57 ล้านตันลดลงร้อยละ 8.3 คิดเป็น มูลค่า 2,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ราคาข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การส่งออกที่ลดลงเป็นผลมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ต่อการเก็บเกี่ยวและการขนส่งข้าวในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมข้าวจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อการแพร่ระบาดของ Covid-19 อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างดี
สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่า เวียดนามคาดหวังถึงโอกาสที่ดีในการเพิ่มการส่งออก เมื่อแหล่งผลิตข้าวอื่นๆ เช่น อินเดีย และไทย คาดการณ์ว่าผลผลิตจะเริ่มลดลงในช่วงนี้ ในขณะที่อุปสงค์ทั่วโลกกําลังเพิ่มสูงขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์ Mirae Asset Vietnam ระบุว่า ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 กําลังช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวเวียดนามไปยังตลาดยุโรป
ปัจจุบันสินค้าข้าวของเวียดนามเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก เนื่องจากมีการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ อาทิเช่น ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปเวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement - EVFTA) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ - เวียดนาม (The UK-Vietnam free trade agreement - UKVFTA) สร้างข้อได้เปรียบจากสิทธิพิเศษทางภาษี
ทำให้ข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นได้ ช่วยให้เวียดนามสามารถดึงส่วนแบ่งการตลาด
ในประเทศอื่นๆ ได้มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ต้องพบกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดข้าวดังกล่าว
ที่มา Oryza.com สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.0.30
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,796.00 บาท/ตัน)ลดลงจากตันละ 332.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,929.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 133.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 562.00 เซนต์ (7,417.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 554.00 เซนต์ (7,277.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 140.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.669 ล้านไร่ ผลผลิต 32.687 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.381 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.537 ล้านไร่ ผลผลิต 31.713 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.325 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 ร้อยละ 3.07 และร้อยละ 1.68 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.59 ล้านตัน (ร้อยละ 4.75 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.36 ล้านตัน (ร้อยละ 61.00 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.09 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.91
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.28 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 9.55
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.51 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.45 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,268 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,235 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,808 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,744 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.070
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.246 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.224 ล้านตันของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 14.13 และร้อยละ 13.84 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.18 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 8.87 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 45.55 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 44.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาตรการจำกัดสต็อกน้ำมันปาล์มของอินเดียคาดว่ายังไม่ส่งผลต่อการนำเข้าในระยะสั้นแต่อย่างใด แต่มาตรการจำกัดนี้อาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศเมื่อราคาอาหารและความต้องการในช่วงเทศกาลสูง ราคาน้ำมันปาล์มดิบในอินเดียสูงขึ้นร้อยละ 75 จากช่วงเดียวกันในปี 2563 อยู่ที่ตันละ 1,382 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาในตลาดต่างประเทศ    
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,407.57 ดอลลาร์มาเลเซีย (44.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,318.41 ดอลลาร์มาเลเซีย (43.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.68                   
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,399.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (46.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,410.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (47.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78         
หมายเหตุ:  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
           ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า อินเดียและบราซิลต่างต้องการเพิ่มการผลิตเอทานอล เพื่อแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่สูง ซึ่งจะทำให้อุปทานน้ำตาลลดลง ขณะที่ Rabobank คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันที่สูงกว่า 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ฐานของราคาน้ำตาลอยู่ที่ 17 เซนต์/ปอนด์ ด้าน Engelhart Commodities Trading Partners กล่าวเสริมว่า การส่งออกน้ำตาลในปี 2565/2566 ของอินเดียอาจลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ 6 ล้านตัน ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้อุปทานน้ำตาลตึงตัวมากขึ้น นอกจากนี้กองทุนได้ปรับลดจำนวนการถือตั๋วซื้อน้ำตาลซึ่งสร้างแนวต้านสำหรับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์คที่ 20 เซนต์/ปอนด์
          - ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ระบุว่า โรงงานน้ำตาล 54 แห่ง ในรัฐมหาราษฏระของอินเดีย ผลิตน้ำตาลได้ 133,200 ตัน ขณะที่โรงงานส่วนใหญ่คาดว่าจะเริ่มเปิดฤดูกาลได้ภายในสิ้นเดือนจนถึงขณะนี้โรงงาน 145 แห่ง ได้รับใบอนุญาตหีบอ้อยแล้ว ในขณะที่โรงงานอีก 64 แห่งถูกปฏิเสธเนื่องจากโรงงานยังคงเป็นหนี้ค่าอ้อย 6 พันล้านรูปี (80.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)
          - สมาคมน้ำตาลแห่งประเทศจีนคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำตาลของจีนในปี 2564/2565 จะลดลงเหลือ 10.23 ล้านตัน ซึ่งลดลง 430,000 ตัน/ปี  ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ลานีญาน่าทำให้ทางตอนใต้ของประเทศอากาศแห้งและมีอุณหภูมิที่หนาวเย็น




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 16.00 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.88 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,222.68 เซนต์ (15.05 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,236.72 เซนต์ (15.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.14
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 335.12 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.23 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 329.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.73
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.67 เซนต์ (44.81 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 61.80 เซนต์ (45.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.83


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.83 ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.21
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 967.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 972.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 876.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 911.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.86 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,272.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,309.00 ดอลลาร์สหรัฐ (43.12 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.83 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 754.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 758.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,235.40 ดอลลาร์สหรัฐ (40.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 1,088.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.86 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.46 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 5.00 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.16 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.04 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
     ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 117.85 เซนต์ (กิโลกรัมละ 87.07 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 111.27 เซนต์ (กิโลกรัมละ 81.87 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 5.91 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 5.20 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,712 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,838 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,398 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,526 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 999 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.80  คิดเป็นร้อยละ 1.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.72 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,300 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.19 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.65 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 สูงขึ้นจากตัวละ 9.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 272 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 305 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 265 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 2.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 352 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 366 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 331 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.30 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.49 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย                จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.08 บาท เนื่องจากทะเลมีคลื่นลมแรง ทำให้ชาวประมงจับปลาได้น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา